การตรวจสุขภาพจำเป็นไหม

ตรวจสุขภาพ

“สุขภาพที่ดี เป็นศรีแก่ชีวิต” คงเป็นคำที่ไม่เกินตัวและควรจะเป็นดั่งคำกล่าวนี้กับทุกๆ ท่านนะครับ เพราะหากเราสุขภาพดีแล้ว จะทำอะไรก็สามารถทำได้อย่างเต็มที่และไม่ติดขัดนั้นเองครับ นอกจากนี้เรื่องของการดูแลสุขภาพ หากเราไม่ดูแลตนเองแล้ว ก็ไม่มีใครดูแลได้ดีเท่ากับตัวเรารู้ดีเท่ากับตัวเราแล้วหล่ะครับ หากจะถามว่า “การตรวจสุขภาพจำเป็นไหม” ก็ต้องขอบอกเลยว่า “จำเป็น” ครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับเรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพกันครับ

การตรวจสุภาพคืออะไร?

การตรวจสุภาพ คือ การตรวจสอบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของเรา เพื่อหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ หากตรวจพบก็สามารถวางแผนรักษาได้ทันที ก่อนความผิดปกติเหล่านั้นจะนำไปสู่โรคร้ายในอนาคต เพราะบางโรคจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

แล้วการตรวจสุขภาพจำเป็นขนาดไหน?

การตรวจสุขภาพก็เหมือนการดูแลตัวเองอย่างหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญ  สามารถบ่งบอกการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคตของคุณว่าส่งผลดีหรือผลเสียกับร่างกายมากน้อยขนาดไหน อีกทั้งการตรวจสุภาพจะทำให้คุณวางแผนดูแลและแผนการรักษาในอนาคตได้เป็นอย่างดีครับ ดังนั้น “การตรวจสุขภาพ เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม จำเป็นครับ”

การตรวจสุขภาพเบื้องต้น สำหรับทุกคนและทุกวัย มีอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้น หรือการตรวจแบบ comprehensive สำหรับทั้งเพศหญิงและเพศชาย ประกอบไปด้วย

●การตรวจร่างกายทั่วไป โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดของคนในครอบครัว ประวัติอาการต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ

●ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ประเมินความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบอกถึงสภาวะผิดปกติต่างๆ

 ●ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน

●ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดีและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เพื่อูประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

●ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์

●ตรวจการทำงานของไต เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูระดับค่าครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต

●ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี โดยตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน

●ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

●ตรวจไวรัสตับอักเสบ

●ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง ได้แก่ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) ในสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษทุกช่วงวัย

●ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะเช่น โรคเบาหวาน

●ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหาร

●เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ  วัณโรคและโรคต่างๆของปอด

●ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้อง

●ตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันลูกตา เป็นการตรวจสุขภาพตาทั่วไป และค้นหาความเสี่ยงต่อภาวะต้อหิน

เป็นอย่างไรบ้างครับกับการแสดงใหเห็นถึง “ความสำคัญในการตราจสุขภาพ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ท่านนะครับ 

About the Author

You may also like these