ทานยาเยอะส่งผลต่อตับจริงไหม

ยา

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินได้ฟังกับเรื่องของผลข้างเคียงจากการทานยาเกินขนาดกันมาบ้างใช่มั้ยครับ ซึ่งจากข่าวเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความจริงครับ หากกล่าวๆ ง่ายๆ เลยก็แค่เราลองเปรียบเทียบกับเรื่องของการกิน ถ้าเรากินอาหารที่มีรสจัดติดๆ กันทุกมื้อหลายๆ มื้อ ก็จะส่งผลต่อการการทำงานของระบบการย่อยและการขับถ่ายอยากเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับการกินยาเกินขนาดหรือกินเยอะๆ ก็จะส่งผลต่อตับนั้นเองครับ บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปดูกันว่า “ทานยาเยอะส่งผลต่อตับจริงไหม” ระบบร่างกายเป็นอย่างไร? เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราจะไปไขข้อสงสัยกันครับ

รับการดูดซึมยาเข้าร่างกายของเราเป็นอย่างไร?

เมื่อรับประทานยาเข้าไปแล้ว ร่างกายจะมี 4กระบวนการหลัก ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับยาดังต่อไปนี้

กระบวนการที่1 การดูดซึมยา (Absorption) เริ่มจากจุดที่ทำให้ยาผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเปรียบเสมือนระบบขนส่งหลักในร่างกายของเรา

กระบวนการที่2 การกระจายยา (Distribution) เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว กระแสเลือดจะนำยาไปสู่เนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับว่ามีเลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นมากน้อยเพียงใดและเนื้อเยื่อส่วนนั้นยอมรับยาแค่ไหน

กระบวนการที่3 การเปลี่ยนแปลงหรือการทำลายยา (Metabolism) เมื่อเกิดการกระจายไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ แล้วส่วนหนึ่งของยาในกระแสเลือดจะถูกร่างกายเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ที่ตับและอวัยวะอื่นกลายเป็นสารใหม่ซึ่งส่วนมากมีฤทธิ์น้อยกว่ายาเดิม

กระบวนการที่4 การขับถ่าย(Excretion) เมื่อมีการทำลายยาแล้วร่างกายจะกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกทางปัสสาวะและอุจจาระ

           กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องไปด้วยกันจนกระทั่งยาหมดไปจากร่างกายซึ่งอาจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของยาและสภาพร่างกายของผู้ใช้ยานั้นเองครับ

5 พฤติกรรมการทานยาแบบผิดๆ

ปรับปริมาณยาด้วยตนเอง ซึ่งการปรับปริมาณยาที่ทานด้วยตนเองโดยปราศจากความรู้และคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำไปสู่การเกิดโทษและเกิดอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก และอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย

●การรับประทานยาของผู้อื่น ผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียงกันจำเป็นต้องได้รับยาชนิดและปริมาณเท่าๆ กัน การแบ่งปันยาให้ผู้อื่นรับประทาน อาจส่งผลต่อการรักษาที่ไม่สมบูรณ์ได้เพราะ ยาไม่ถึงโดสที่ร่างกายต้องการคัรบ

●การไม่ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุของยา การที่เราไม่ตรวจสอบอาจส่งผลให้เรารับประทานยาที่ไร้คุณภาพหรืออาจเกิดปัญหาหรือผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ครับ

●ไม่นำยาเก่ามาด้วยเวลามารักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้บางครั้งไม่ได้รับยาที่รับประทานต่อเนื่องเพื่อรักษาโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่เดิม แต่ครั้งนี้มารับการรักษาอาการอื่น แพทย์เองก็ไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไรอยู่ก่อน

●ชอบไปรับการรักษาจากหลายสถานพยาบาลทำให้ได้รับยาซ้ำซ้อน บางครั้งยามีปฏิกิริยากัน อาจเสริมฤทธิ์กันหรือทำให้ฤทธิ์ยาลดลง

ทายยาเยอะส่งผลต่อตับอย่างไร?

อวัยวะอย่างตับ มีหน้าที่ในการเป็นแหล่งสะสมอาหารและช่วยขจัดสารพิษหรือสารส่วนเกินต่างๆ ออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานานก็ส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้นจนเกินการสะสมจนทำให้เกิดพิษในตับได้ ยาอันตรายต่อตับที่คนมักมองข้ามเป็นยาใกล้ตัวอย่าง “พาราเซตามอล” ที่อาจเกิดพิษต่อตับได้ และหากมีพิษตกค้างในตับมาก ก็จะเข้าไปทำลายเนื้อตับทำให้เกิดอันตรายต่อตับเกิดภาวะตับวายได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทานยาเยอะส่งผลต่อตับหรือไม่?” และข้อมูลเกี่ยวกับการดูดซึมยา เราหวังว่าข้อมูลดังกล่าวนี้จะช่วยให้ท่านได้ความรู้ที่เหมาะสมกันนะครับ

About the Author

You may also like these